- วิชาคอมพิวเตอร์ (Summer)
- คุณสมบัติของสีน้ำ -----
สีน้ำใช้ในงานการพิมพ์และภาพเขียน
ลักษณะเฉพาะที่เด่นของสีน้ำก็คือ ความโปร่งใส ( Transparent ) เวลาระบายใช้พู่กันแตะสีละลายกับน้ำ ระบายบนกระดาษขาว พยายามระบายไปครั้งเดียว ไม่ควรระบายสีต่างๆ ซ้ำหรือทับกันหลายหน เพราะจะทำให้สีหม่นขาดคุณสมบัติโปร่งใส และควรรักษาให้พู่กันสะอาดอยู่เสมอเมื่อต้องการเปลี่ยนสีใหม่
สีน้ำมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ เนื้อที่บดแล้วอย่างละเอียด ( Pigment ) ผสมกับกาวอารบิค ซึ่งสกัดมาจากต้นอะคาเซีย ( Acacia tree ) กาวชนิดนี้มีคุณสมบัติพิเศษ คือ ละลายน้ำง่ายและเกาะติดกระดาษแน่น ทั้งยังมีลักษณะโปร่งใสอีกด้วย
คุณสมบัติทั่วไปของสีน้ำ
1.ลักษณะโปร่งใส( Transparent Quality )
2. ลักษะเปียกชุ่ม( Soft Quality )
3.สีน้ำมีคุณสมบัติที่แห้งเร็ว
4.สีน้ำมีคุณสมบัติรุกรามและยอมรับ( Advance, Receda )
อ.เทพี เพ็งคำมาด
สอนให้นักเรียนมีทักษะการอ่าน การฟัง การพูด การอ่าน การเขียนและคิดวิเคราะห์
- กุลวรรณ วิชานาฏศิลป์ ป.6 เรื่อง การเป็นผู้ชมที่ดี
- Teacher: ธีรเดช ศรประสิทธิ์
ดนตรีสากล เป็นดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติตะวันตก มีการบันทึกเพลงเป็นสัญลักษณ์ ที่เรียกว่า โน้ตสากล ต่อมามีการพัฒนาและเป็นที่ยอมรับทั่วโลก มีการนำเพลงและเครื่องดนตรีจากต่างประเทศซึ่งเป็นที่นิยมกัน มาใช้ในประเทศ มีการใช้โน้ตสากล จังหวะเพลงที่เป็นสากล
-----------------------------------------
เครื่องดนตรี คือสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อกำเนิดเสียงชนิดต่างๆ ตามที่ต้องการ เสียงของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันออกไป ทำให้เกิดความหลากหลายของเสียง บทเพลงมีสีสัน มีชีวิตชีวา เสริมสร้างอารมณ์จากเสียงของเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ เครื่องดนตรีสากลในปัจจุบันสามารถจำแนกหรือจัดเป็นประเภทใหญ่ๆ ตามลักษณะของเสียงที่คล้ายคลึงกัน และลักษณะของเครื่องดนตรี แบ่งออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1. เครื่องสาย (String Instruments)
2. เครื่องลมไม้ (Woodwind Instruments)
3. เครื่องลมทองเหลือง (Brass Instruments)
4. เครื่องลิ่มนิ้ว (Keyboard Instruments)
5. เครื่องกระทบ (Percussion Instruments)
. . . . . . . . . . . . . . ศิลปะพาเพลิน . . . . . . . . . . . . . .
เปิดสอนรายวิชาศิลปะระดับประถมศึกษา ปีที่ 1,2 และ 3 อยากให้นักเรียนทำงานศิลปะด้วยใจรักกระตุ้นพัฒนาการ กล้ามเนื้อมือและประสาทตา ได้ฝึกความคิดจินตนาการสร้างสร้างสรรค์ให้บรรเจิด แถมนักเรียนยังได้ฝึกสมาธิได้อีกนะ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
1. Foundation (พัฒนาทักษะพื้นฐานทางศิลปะ)
เทคนิค - ลายเส้น (Drawing)
- สีเทียน (Wax Oil Crayon)
- สีไม้ (Coloured Pencils)
2. Basic (พัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์)เทคนิค- สีไม้ (Coloured Pencils)
- สีชอล์ค (Oil Pastel หรือ Oil Crayon)
- สีน้ำ (watercolor)
3. Intermediate (พัฒนาทางด้านศิลปะ กระบวนการคิดเป็นองค์ประกอบศิลป์)เทคนิค- สีน้ำ (watercolor)
- สีโปสเตอร์ (poster color)
- สีอะคริลิค (Acrylic Color)
- Teacher: อัชราวรรณ แก้วระย้า
การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง
- Teacher: กุลวรรณ วิภาตะโยธิน
การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ
ฟ้อนเงี้ยว เป็นการฟ้อนที่ได้รับอิทธิพลมาจากการฟ้อนของเงี้ยวหรือไทยใหญ่ ประกอบด้วย ช่างฟ้อนหญิงชายหลายคู่ แต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองไทยใหญ่ การฟ้อนเงี้ยวเหมาะสำหรับผู้ชาย แต่ต่อมาเพื่อให้เกิดความสวยงาม จึงมีการใช้ผู้หญิงล้วน หรือใช้ทั้งชายและหญิงแสดงเป็นคู่ๆ มีลีลาการฟ้อนที่แปลกแตกต่างไปจากฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน
การแต่งกาย จะเลียนแบบการแต่งกายของชาวไทยใหญ่ โดยมีการดัดแปลงเครื่องแต่งกายออกไปบ้าง โดยใส่เสื้อคอกลมแขนกระบอก นุ่งโสร่งสั้นเพียงเข่า หรือกางเกงขากว้างๆ หรือบ้างก็นุ่งโสร่งเป็นแบบโจงกระเบนก็มี ใช้ผ้าโพกศีรษะ มีผ้าคาดเอว ใส่เครื่องประดับ เช่น กำไลมือ กำไลเท้า สร้อยคอ และใส่ตุ้มหู
โอกาสที่ใช้แสดง แสดงในงานรื่นเริงทั่วไป
- Teacher: นางสุชาดา นนทรีย์
ดนตรีไทยมีทั้งหมด 4 ประเภท ประกอบด้วย
1. เครื่องดีด
2. เครื่องสี
3. เครื่องตี
4. เครื่องเป่า
เรื่อง การเขียนภาพสีน้ำ watercolors painting เป็นภาพที่มีลักษณะโปรงแสง ใส
แตกต่างจากสีโปสเตอร์ที่มีความทึบและเข้มมากกว่า
รายวิชานาฏศิลป์
หน่วยการเรียนรู้ นาฏศิลป์สี่ภาค
รูปร่างและรูปทรง(Shape & Form)
มารยาทในการเป็นผู้ชมที่ดี
จังหวะฟ้อนเงี้ยว และการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง "เมื่อจะข้ามถนน"
บทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่องท่านาฏยศัพท์
นิทานเสริมสร้างคุณธรรม เรื่อง ตามล่าหาความฝัน